ฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร
การฝังเข็ม เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยหมอจะใช้เข็มปลอดเชื้อที่มีขนาดเล็ก ฝังลงไปตามจุดต่างๆ บนเส้นลมปราณซึ่งเส้นลมปราณทั้งหมดนี้รวมทั้งเส้นลมปราณพิเศษ โดยเส้นลมปราณทุกเส้นจะมีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น จุดเน่ยกวน คือบริเวณข้อมือ จุดนี้อยู่บนเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ มักใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เครียด นอนไม่หลับ และเพื่อปรับสมดุลการไหลเวียนของชี่ หรือพลังชีวิต และเลือดให้สมดุล เมื่อร่างกายเรามีความสมดุลของพลังชี่ และเลือด ก็จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
ในศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายถึงการฝังเข็มว่าสามารถช่วยให้ร่างกายของเราหลั่งสารเคมีตามธรรมชาติ เช่น สารสื่อประสาท และสารเอ็นโดฟิน (ซึ่งเป็นสารบรรเทาปวดตามธรรมชาติ) เพื่อช่วยให้ร่างกายทำการรักษาตัวเองตามวิถีธรรมชาติอีกด้วย
การฝังเข็มได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ และองค์กรอนามัยโลกแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางประเภท
ประโยชน์ของการฝังเข็ม
- กระตุ้นการไหลเวียนของชี่ และเลือด ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ฝังเข็มช่วยรักษาบำรุงฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
- ฝังเข็มช่วยปรับสมดุล หยิน หยาง ของร่างกาย
- ฝังเข็มช่วยกระตุ้นระบบประสาท และฮอร์โมน
โรคที่การฝังเข็มสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
การฝังเข็มสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ อาการบาดเจ็บ ปวดหัวไมเกรน ปวดประจําเดือน และอาการปวดคอ หลัง หรือหัวเข่า นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายดีขึ้นได้ ตามโรคต่างๆ ดังนี้
- ผลข้างเคียงของโรคมะเร็ง และการรักษามะเร็ง
- ระบบภูมิคุ้มกัน
- ระบบประสาท
- ภาวะมีบุตรยาก
- ปัญหาระบบทางเดินอาหาร
- วัยทอง
- อาการบาดเจ็บตามร่างกายจากการใช้งานซ้ำ ๆ
- อาการไม่สบายตัวจากการตั้งครรภ์